เกณฑ์ในการใช้คัดเลือกแอร์และสจ๊วตคืออะไร
6 หลักเกณฑ์ที่ผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วตควรรู้
หลายๆ คนคงเชื่อว่าอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือ แอร์โฮสเตส และ สจ๊วตนั้น ยังเป็นหนึ่งในอาชีพในฝันของคนหลาย ๆ คน ด้วยลักษณะการทำงานที่มีภาพลักษณ์ที่สวยงาม อยู่ในองค์กรที่ใหญ่โต และ เป็นอาชีพที่มีโอกาสได้ไปเที่ยวต่างประเทศฟรีตลอดเวลา ตามความคิดและความเชื่อของคนส่วนใหญ่ รวมถึงอีกหนึ่งความเชื่อที่ว่าอาชีพนี้ต้องเก่งภาษาอังกฤษ และว่ายน้ำเป็นในการคัดเลือกสมัคร แต่ใครจะรู้ว่า แอร์โฮสเตส (Air Hostess) และ สจ๊วต (Steward) นั้นมีเกณฑ์ที่เคร่งครัดในการคัดเลือกเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการบริการบนเครื่องบิน โดยเกณฑ์การคัดเลือกมักจะคล้ายคลึงกันระหว่างแต่ละสายการบิน แต่สามารถแบ่งออกเป็นเกณฑ์หลักๆ ได้หลายประการ ดังนั้นในวันนี้เราจะมาแนะนำเกณฑ์การคัดเลือกสมัครแอร์ และ สจ๊วตกันว่ามีอะไรบ้าง
เกณฑ์ในการสมัครแอร์ และ สจ๊วต ที่ควรมีคุณสมบัติมีดังนี้
- คุณสมบัติทั่วไป
- อายุของผู้สมัคร: โดยเราจะพบว่าสายการบินส่วนใหญ่มักกำหนดอายุขั้นต่ำในการสมัครแอร์ และ สจ๊วตอยู่ที่ 18-21 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละสายการบิน ส่วนอายุสูงสุดอาจอยู่ระหว่าง 30-35 ปี แต่บางสายการบินอาจไม่มีการกำหนดอายุสูงสุดอย่างเข้มงวดมากนัก
- การศึกษา: ผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วตนั้นจำเป็นจะต้องจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (หรือเทียบเท่า) ขึ้นไป แต่บางสายการบินอาจกำหนดให้ต้องจบปริญญาตรีโดยเฉพาะในตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอีกด้วย
- ภาษาอังกฤษ: เราจะพบว่าทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างคล่องแคล่วเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ การสมัครแอร์ ส่วนใหญ่สายการบินจะกำหนดให้ผ่านการสอบทักษะภาษาอังกฤษ เช่น TOEIC โดยกำหนดคะแนนขั้นต่ำประมาณ 600 คะแนนขึ้นไป (หรือ การทดสอบภาษาอังกฤษอื่นๆ ตามที่สายการบินกำหนด)
- ทักษะการว่ายน้ำ: โดยผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วตจำเป็นต้องสามารถว่ายน้ำได้โดยไม่ใช้ตัวช่วย หรือ อุปกรณ์ช่วยเหลือ ในระยะทางที่กำหนดไว้ เช่น ว่ายน้ำ 50 เมตรเป็นต้น เพื่อความปลอดภัยในกรณีฉุกเฉินบนเครื่องบิน
- บุคลิกภาพ และ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์
- รูปร่างหน้าตา: ผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วต จำเป็นต้องมีบุคลิกภาพที่ดี และ ดูน่าประทับใจ มีความสุภาพเรียบร้อย สายการบินบางแห่งอาจกำหนดเรื่องน้ำหนัก และ ส่วนสูงเพื่อให้เข้ากับมาตรฐานการบริการ เช่น ส่วนสูงขั้นต่ำประมาณ 160 ซม. ขึ้นไปสำหรับผู้หญิง และ 170 ซม. ขึ้นไปสำหรับผู้ชาย ส่วนผู้สมัครต้องมีน้ำหนักสัมพันธ์กับความสูงอีกด้วย
- การเข้าถึงบริการ: ผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วตควรมีทัศนคติในการให้บริการที่ดี มีใจรักงานบริการ อดทน และสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่มีความกดดันได้ทุกสถานการณ์
- ไม่มีรอยสัก หรือ แผลเป็นที่เห็นได้ชัด: ในบางสายการบินผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วตไม่ควรมีรอยสักโดยเฉพาะในตำแหน่งที่ปรากฏบนร่างกายขณะที่ใส่เครื่องแบบแอร์โฮสเตส หรือ สจ๊วต เนื่องจากรอยสักหรือ แผลเป็นอาจขัดต่อภาพลักษณ์ของสายการบินบางสายนั้นเอง
- ทักษะการสื่อสาร และ การแก้ปัญหา
- การสื่อสารดีเยี่ยม: ผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วตนั้นต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี สามารถรับมือกับผู้โดยสารจากหลากหลายวัฒนธรรมและภาษาได้ สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- ภาษาอื่น ๆ: การที่ผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วตนั้นมีความรู้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษเป็นข้อได้เปรียบ ในการคัดเลือก เช่น ภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี หรือ ภาษาอาหรับ เพราะสายการบินระหว่างประเทศมักมีผู้โดยสารหลากหลายเชื้อชาติใช้บริการอยู่ตลอดเวลา
- ทักษะการแก้ปัญหา: ผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วตนั้นต้องสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ เช่น การดูแลผู้โดยสารที่เจ็บป่วยบนเครื่องบิน หรือ การให้ความช่วยเหลือในเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด นั้นเอง
- สุขภาพของผู้สมัคร
- สุขภาพร่างกาย: ผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วตนั้นต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์ สายการบินจะมีการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด เช่น สายตา การได้ยิน และ ความดันโลหิต ทุกครั้งก่อนการคัดเลือก
- สุขภาพจิต: ผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วตจำเป็นต้องมีสุขภาพจิตที่ดี เนื่องจากงานบริการบนเครื่องบินนี้ต้องเจอกับแรงกดดัน และ ความเครียดเป็นระยะเวลานาน จึงควรรับกับสถานการณ์กดดันได้ดี
- การตรวจสารเสพติด: ผู้สมัครจำเป็นจะต้องผ่านการตรวจสอบ และ รับรองว่าไม่มีสารเสพติดในร่างกาย เพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง
- การฝึกอบรม และ ความพร้อมในการบริการ
- การผ่านการฝึกอบรม: ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกการสมัครแอร์ และ สจ๊วตแล้วต้องผ่านการฝึกอบรมที่เข้มงวดจากสายการบิน ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัย การปฐมพยาบาล การจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงวิธีการให้บริการผู้โดยสาร อย่างเข้มข้นเพื่อให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสายการบิน
- ความพร้อมในการเดินทาง: ผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วตนั้นต้องมีความยืดหยุ่นในการทำงานในเวลาที่หลากหลาย และ ต้องมีความพร้อมสามารถเดินทางได้ตลอดเวลา ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ
- ประสบการณ์การทำงาน
- ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์: ผู้สมัครแอร์ และ สจ๊วต รายใหม่นั้นไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์การทำงานสายการบินนี้มาก่อน แต่ถ้ามีประสบการณ์ในการทำงานบริการมา เช่น งานโรงแรม ร้านอาหาร หรือ การบริการลูกค้า จะเป็นประโยชน์ และ เป็นข้อได้เปรียบ อาจจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
- การสมัครตำแหน่งที่สูงขึ้น: หากสมัครแอร์ หรือ สจ๊วตในตำแหน่งที่สูงขึ้น เช่น หัวหน้าแอร์โฮสเตส หรือ หัวหน้าสจ๊วต มักจะต้องมีประสบการณ์การทำงานในสายการบินมาก่อน และ อาจต้องมีการผ่านการทดสอบความเป็นผู้นำ และ การจัดการทีม นั้นเอง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการสมัครแอร์โฮสเตส และ สจ๊วตเป็นงานที่มีการแข่งขันสูง ผู้สมัครจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมทั้งด้านความรู้ บุคลิกภาพ ทักษะการสื่อสาร และ การดูแลสุขภาพ เพื่อให้ผ่านการคัดเลือก เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากนอกจากจะใช้กับการสมัครงานแอร์โฮสเตสได้แล้ว ยังสามารถประยุกต์ใช้กับหลายสายอาชีพด้วยกัน อาทิ งานการตลาด ที่ต้องติดต่อกับต่างชาติ งานโรงแรม และงานท่องเที่ยว เป็นต้น แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือการเตรียมพร้อม และ ศึกษาหาข้อมูลเรื่องความต้องการขององค์กรต่างๆ ก่อนสมัครงาน แอร์ สจ๊วต หรืองานอื่นๆ หากสนใจในการฝึกทักษะ และ การเตรียมความพร้อมการสมัครแอร์ หรือ สจ๊วต
เราขอแนะนำ สถาบัน Crew Academy ซึ่งเป็นสถาบันเตรียมพร้อมการสมัครแอร์โฮสเตส และ สจ๊วต อันดับ 1 ที่โดดเด่นเหนือใคร สามารถพิชิตใจกรรมการ หลายๆ สายการบิน สอนโดยครูฝ้าย ประสบการณ์ การสอนกว่า 19 ปี อีกทั้งยังมีการฝึกทักษะเตรียมความพร้อมทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มสมัครจนถึงขั้นตอนสัมภาษณ์ทุกขั้นตอน ซึ่งได้รับการการันตีจากลูกศิษย์ที่สามารถสอบเป็นแอร์ หรือ สจ๊วตได้มากมาย จึงมั่นใจได้ว่าหากเลือกเรียนกับสถาบันสอนแอร์โฮสเตส และ สจ๊วต Crew Academy จะได้รับเทคนิค เคล็ดลับต่างๆ ในการเตรียมสมัคร และ เตรียมความพร้อม ก่อนเป็นแอร์ และ สจ๊วตอย่างแน่นอน
ติดต่อสอบถาม สถาบันสอนแอร์โฮสเตส และ สจ๊วต CrewAcademy
โทร : 062-552-6499
Line : @crewacademy
E-mail : [email protected]